29 มีนาคม 2555

พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้

   

       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ  ให้ประกาศว่า  โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ             ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑๓
หมายถึง 
   ถ้าการที่มีการ จำหน่ายหรือการเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อที่เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ที่ต้องตาม มาตราที่ ๕ มาตราที่ ๖ มาตราที่ ๗ มาตราที่ ๘ มาตราที่ ๑๐ หรือ มาตราที่ ๑๑  หากฝ่าฝืน ต้องมีโทษ จำคุก ไม่เกิน  หนึ่งปีหรือปรับไม่เกิน เป็นต้น
มาตรา ๑๔
หมายถึง
   การกระทำผิด ดังต่อไปนี้ มีการถูกจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือมีการปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ                                                                                                              (๑.) การเข้าสู้คอมพิวเตอร์ซึ้งทางด้านข้อมูลของคอมพิวเตอร์ปลอมทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม ทางด้านข้อมูลเป็นเท็จ โดยทำให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นต้น
(๒) การเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ป็นเท็จ โดยจะเกิดความเสียหายต่อความมั่งคงของประเทศได้หรือก่อใหเกิดความตื่นตกใจแก่ประชาชนได้ เป็นต้น
(๓) การเข้าสู่รบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายที่มีผลต่อกาประมาลผลทางกฎหมายอาญา เป็นต้น
(๔) การเข้าสู่รบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ  ที่มีสื่ออนาจารและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เป็นต้น
(๕)  การเผยแพร่หรือการส่งถึงข้อมูลของคอมพิวเตอร์ โดยทราบถึงข้อมูลที่เป็นไปตามมาตราที่ (๑)(๒) (๓) หรือ (๔) เป็นต้น
มาตรา ๑๕
หมายถึง 
   ผู้ที่ให้บริการ หรือการสนับสนุนทางด้านข้อตกลง โดยจะมีความผิดตามมาตรา ๑๔  ในระบบคอมพิวเตอร์ที่มการควบคุมขงการทำงาน โดยจะมีการระวางโทษ เช่นเดียวกับผูที่กระทำผิดตามมาตรา ๑๔  เป็นต้น
มาตรา ๑๖
หมายถึง  
   ผู้ใดที่สามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าไม่ถึง ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏทเป็นภาพของบุคคลอื่น เป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือมีการดัดแปลง ด้วยวิธีการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยอันที่เป็นประการที่จะทำให้ผู้อื่นเสียงชื่อเสียง ถกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับควมอับอาย ต้องมีการระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือมีการปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าของข้อมูลโดยสุจริต ผู้ที่กระทำไม่มีความผิด ตามความผิดวรรคหนึ่ง เป็นความผิดที่ยอมความได้ แต่ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดเสียชีวิตก่อนการร้องทุกข์ ให้บิดา  มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายสามารถมการร้องทกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหายแทน เป็นต้น
มาตรา ๑๗
หมายถึง                              
(๑)บุคคลที่กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทยและรัฐบาลแห่งประเทศ ที่ได้รับความผิดที่เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้มีการเรียกขอให้มีการลงโทษ

(๒) บุคคลที่กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าวและรัฐบาลไทยหรือคนไทยที่เป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายก็สามารถเรียกขอให้มีการลงโทษและต้องรับโทษในราชอาญาจักร ตามหมวดที่ ๒ ของเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
มาตรา ๑๘
หมายถึง  
   ในการบังคับมาตรา ๑๙ เพื่อเป็นประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ที่ ใช้เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ                                                                                                                     (๑) โดยมีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของความผิดตามพระราช -บัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือส่งเอกสารข้อมูลหรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ เป็นต้น
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับในส่วน การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ - คอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย  เป็นต้น
(๓) สั่งให้ผู้ให้มีบริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือการควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ เป็นต้น
(๔) การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
(๕) การสั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ไว้เพื่อการส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้เป็นต้น
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์จากข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วย เป้นต้น
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด มีการสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าวได้ เป็นต้น
(๘) โดยยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการทราบรายถึงละเอียดแห่งการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้น
มาตรา ๑๙
หมายถึง   
   ในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) โดยพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาล ที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ จากคำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิดโดยตาม   รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔)  ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอการขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวนี้  โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลันเปลี่ยนข้อมูลของ หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เป็นต้น

มาตรา ๒๐
หมายถึง  
  โดยกรณีที่ การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์     ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับ ของมูลจากการแพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้  เป็นต้น

มาตรา ๒๑
หมายถึง  
  โดยกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้พบว่า ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจมียื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบทางด้านของคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย หรื้อถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษได้ เป็นต้น

15 มีนาคม 2555

ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Panda Cloud Antivirus กับการใช้งานที่ถูกต้อง





 ไวรัสคอมพิวเตอร์         ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
     ในเชิงเทคโนโลยี
ความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้หรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์  ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก

ประวัติ

       ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ทีมวิศวกรของ Bell Telephone Laboratories ได้สร้างเกมชื่อว่า "Darwin" ถือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกที่มีรูปแบบของไวรัส โดยฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำ เกมนี้ใช้คำศัพท์บางอย่างที่มีคำว่า "supervisor" มีลักษณะที่กำหนดกฎเกณฑ์การต่อสู้ระหว่างผู้เข้าแข่งขัน โปรแกรม Darwin นี้มีความสามารถที่จะวิจัยสภาพแวดล้อมของมัน ทำสำเนา และทำลายตัวเองได้ จุดประสงค์หลักของเกมนี้ก็คือลบโปรแกรมทั้งหมดที่คู่แข่งเขียนและครอบครองสนามรบ
ต้นปี
พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) มีการตรวจพบไวรัส Creeper ในเครือข่าย APRAnet ของทหารอเมริกา ถือเป็นต้นแบบไวรัสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โปรแกรม Creeper สามารถเข้าครอบครองเครือข่ายผ่านโมเด็มและส่งสำเนาตัวเองไปที่ฝั่ง remote ไวรัสนี้ทำให้คนรู้ว่าติดไวรัสด้วยการ broadcast ข้อความ "I'M THE CREEPER ... CATCH ME IF YOU CAN"
ปี
พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โปรแกรมชื่อ "Rabbit" โผล่ขึ้นมาบนเครื่องเมนเฟรมที่เรียกชื่อนี้เพราะมันไม่ได้ทำอะไรนอกจากสำเนาตัวเองอย่างรวดเร็วไปในระบบเก็บข้อมูลชนิดต่างๆ Rabbit นี้ได้ดึงทรัพยากรของระบบมาใช้อย่างมาก ทำให้การทำงานกระทบอย่างรุนแรงจนอาจทำให้ระบบทำงานผิดพลาดได้
ปี
พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) มีการตรวจพบไวรัสชื่อ "Elk Cloner" นั้นเป็นคอมพิวเตอร์ไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรก ซึ่งแพร่กระจาย คือในวงที่กว้างออกไปกว่าภายในห้องทดลองที่สร้างโปรแกรม โปรแกรมนี้ถูกเขียนขึ้นโดย Rich Skrenta โดยไวรัสนี้จะติดไปกับระบบปฏิบัติการ Apple DOS 3.3 ผ่านทาง boot sector ของฟล็อปปี้ดิสก์ ณ เวลานั้นผลของมันทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางคนนึกว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เกิดจากมนุษย์ต่างดาว เพราะทำให้การแสดงภาพที่จอกลับหัว, ทำตัวอักษรกระพริบ, ขึ้นข้อความต่างๆออกมา
ปี
พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Len Adleman แห่งมหาวิทยาลัย Lehigh ตั้งคำว่า "Virus" ว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำสำเนาตัวเองได้ และในปีถัดมาใน Information security conference ครั้งที่ 7 Fred Cohen ได้ให้คำจำกัดความของคำ "computer virus" ว่าเป็นโปรแกรมที่สามารถติดต่อไปยังโปรแกรมอื่นโดยการแก้ไขโปรแกรมเดิมเพื่อแพร่ขยายตัวเอง
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Fred Cohen บิดาแห่งไวรัสศาสตร์ (Virology) ได้ใช้คอมพิวเตอร์ VAX 11/750 สาธิตว่าโปรแกรมไวรัสสามารถฝังตัวเข้าไปใน object อื่นได้
ปี
พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ไวรัสตัวคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ สร้างโดยโปรแกรมเมอร์อายุ 19 ปี ชาวปากีสถาน ชื่อ Basit Farooq และพี่ชายชื่อ Amjad เรียกชื่อ "Brain" ที่มีเป้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการรู้ระดับของซอฟต์แวร์เถื่อนในประเทศตัวเอง แต่โชคไม่ดีที่การทดลองนี้หลุดออกมานอกประเทศ
ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โปรแกรมเมอร์ชาวเยอรมันชื่อ Ralf Burger พบวิธีตรวจจับโปรแกรมที่ copy ตัวเองโดยการเพิ่ม code บางตัวเข้าไปใน ไฟล์ COM version ที่ใช้ทดลองชื่อ Virdem ถูกนำมาแสดงในเดือนธันวาคม ที่ Hamburg เป็น forum ที่เหล่า hacker ที่ชำนาญในการ crack ระบบ VAX/VMS มารวมตัวกันชื่อ "Chaos Computer Club" ารา
ปี
พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เกิดไวรัสระบาดที่ เวียนนา เป็นไวรัสที่ทำลายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรกที่ทำงานเต็มระบบ ส่งผลกระทบไปเกือบทั่วโลก ที่มาของไวรัสนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันมาก เพราะคนที่อ้างว่าเป็นคนเขียนคือ Franz Svoboda แต่เมื่อสืบไปจึงพบว่าเขารับมาจาก Ralf Burger ซึ่งก็อ้างว่ารับมาจาก Svoboda เดิมชื่อไวรัสคือ "lovechild" แต่เพราะไม่สามารถหาคนให้กำเนิดได้จึงถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "orphan" (ลูกกำพร้า)
ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เดือนธันวาคม เกิดการระบาดใต้ดินครั้งแรกในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชื่อ "Christmas Three" วันที่ 9 ไวรัสหลุดมาจาก เครือข่าย Bitnet ของมหาวิทยาลัย Western University ประเทศเยอรมนี ทะลุเข้าไปใน European Acadamic Research Network (EARN) และเข้าไป เครือข่าย IBM-Vnet เป็นเวลา 4 วัน เครื่องที่ติดไวรัสจะแสดงผลที่หน้าจอเป็นรูปต้นคริสต์มาสต์ และส่งไปให้ผู้ใช้อื่นๆในเครือข่าย
ปี
พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) Peter Norton programmer ที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Symantec ได้ออกมาประกาศว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องไร้สาระ โดยเปรียบว่าเป็นแค่จระเข้ที่อยู่ในท่อระบายน้ำเสียในนิวยอร์ก แต่ในที่สุดเขาเป็นผู้ที่ได้เริ่มต้น project Norton-AntiVirus
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) วันที่ 22 เดือนเมษายน เกิด forum ที่ถกกันเรื่อง security threat เป็นครั้งแรก ชื่อ Virus-L host ไว้ที่ Usebet สร้างโดย Ken Van Wyk เพื่อร่วมงานของ Fred Cohen ที่มหาวิทยาลัย Lehigh
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนตุลาคม มีการแพร่ข่าวไวรัสชื่อ Mr. "Rochenle" อย่างมากเป็นไวรัสประเภทหลอกลวง (HOAX) เป็นตัวแรก อ้างถึงชื่อบุคคลที่ไม่มีตัวตนชื่อ Mike RoChenle ("Microchannel") อ้างว่าไวรัสนี้สามารถส่งตัวเองไประหว่างโมเด็มด้วยความเร็ว 2400 bps ทำให้ความเร็วโมเด็มลดลงเหลือ 1200 bps และได้อธิบายวิธีการแก้ไขที่ไม่ได้มีผลอะไร แต่มีคนหลงเชื่อทำตามกันอย่างมากมาย
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนพฤศจิกายน มีหนอนเครือข่ายชื่อ "Morris" ระบาดอย่างหนักทำให้คอมพิวเตอร์กว่า 6000 เครื่องในอเมริการวมทั้งใน ศูนย์วิจัยของ NASA ติดไปด้วย ส่งผลกระทบให้การปฏิบัติงานหยุดโดยสิ้นเชิง เหตุเนื่องจากมี error ใน code ของ Morris ทำให้มัน copy ตัวเองไปที่เครือข่ายอื่นอย่างไม่จำกัดทำให้เครือข่ายรับไม่ไหว การระบาดครั้งนั้นทำให้สูญเสียเป็นมูลค่ากว่า 96 ล้านเหรียญสหรัฐ


 ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์

        บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันทีบูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

        ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น



                                 

หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งเพิ่มมากขึ้น 

โทรจัน

ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
โปรแกรมป้องกันไววัส


โปรแกรมป้องกันและกำจัดการคุกคาม(อังกฤษ: Anti malware software) หรือในวงการเรียกว่า แอนติไวรัส/แอนติสปายแวร์(Anti-Virus/Anti-Spyware) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและกำจัดโปรแกรมคุกคามทางคอมพิวเตอร์หรือมัลแวร์(ต่อจากนี้จะเรียกโดยรวมคำว่า มัลแวร์ เป็น ไวรัส) จากผู้ไม่หวังดีทางอินเทอร์เน็ต
โปรแกรมป้องกันไวรัสมี 2 แบบใหญ่ๆ
  1. แอนติไวรัส เป็นโปรแกรมโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วๆไป จะค้นหาและทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
  2. แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูล จากไวรัสสปายแวร์ และจากแฮ็คเกอร์ รวมถึงการกำจัด Adsware ซึ่งเป็นป๊อปอัพโฆษณาอีกด้วย
โปรแกรมป้องกันไวรัสจะค้นหาและทำลายไวรัสที่ไฟล์โดยตรง แต่ในทุกๆวันจะมีไวรัสชนิดใหม่เกิดขึ้นมาเสมอ ทำให้เราต้องอัปเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของเราปลอดภัย โดยแอนติไวรัสจะมีหลายรูปแบบตามบริษัทกันไปและแต่ละบริษัทจะมีการอัปเดตและการป้องกันไม่เหมือนกัน แต่ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวไม่ควรมีแอนติไวรัส 2 โปรแกรมเพราะจะทำให้โปรแกรมขัดแย้งกันเองจนไม่สามารถใช้งานได้
อ้างอิง
Mark Russinovich, Advanced Malware Cleaning video, Microsoft TechEd: IT Forum, November 2006
  • Szor, Peter (2005). The Art of Computer Virus Research and Defense. Boston: Addison-Wesley. ISBN 0321304543.
  • Jussi Parikka ( 2007) Digital Contagions. A Media Archaeology of Computer Viruses, Peter Lang: New York. Digital Formations-series


      
     

THE 10 คำศัพท์ Computer Security. 16/03/2555

 THE 10 คำศัพท์ Computer Security.


46. Misvse Detection Model
คำแปล : คำอธิบาย 
    การตรวจจับการบุกรุกโดยการมองหากิจกรมเกี่ยวกับเทคนิคการบุกรุกที่ทราบได้ เป็นต้น
   
47. fiber-optic cable
คำแปล : คำอธิบาย 
       สายเส้นใยนำแสงข้อมูลที่เป็นสื่อในการนำสายใยมาดูและสายแก้วหรือวัตถุหลอมได้ที่สามารถเป็นสื่อจำนวนมากมาย ในขณะที่มีความเร็วในการส่องสว่างของข่าวสารข้อความที่ออกมา เป็นต้น

48. Internet Service Provider (ISP)
คำแปล : คำอธิบาย 
      Internet Service Provider (ISP) เป็นบริษัท ที่ให้เอกชน และบริษัทเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และบริการอื่นทีเกี่ยวข้อง เช่น การสร้าง web site และ virtual hosting โดย ISP มีอุปกรณ์และสายการสื่อสาร ที่เข้าถึงโดยต้องการ Point-of-Presence (POP) บนอินเตอร์เน็ต สำหรับการให้บริการ ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ISP ขนาดใหญ่มีสาย leased line ความเร็วสูงของตัวเอง เพื่อทำให้ลดการขึ้นต่อผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม และสามารถให้บริการที่ดีกว่าสำหรับลูกค้า เป็นต้น

49. lossy compression
คำแปล : คำอธิบาย 
       วิธีบีบอัดแบบลอซซี่เป็นวิธีบีบอัดข้อมูลที่ไม่รับรองว่าจะนำข้อมูลเดิมกลับมาได้ทุกบิตหรือไม่ JPEG เป็นวิธีบีบอัดแบบลอซซี่ที่ใช้กับไฟล์รูปภาพ เมื่อบีบอัดแล้วคุณภาพของรูปจะเสียไป ผู้ใช้ต้องเลือกสัดส่วนของคุณภาพก่อนทำการ บีบอัด แต่ถึงแม้ว่าจะมีการสูญเสียข้อมูลไปบ้างคุณภาพของรูปบางรูปก็ไม่ตกลงไปมากนัก  เป็นต้น
50. interface
คำแปล : คำอธิบาย 
     ตัวเชื่อมประสาน ส่วนประกอบของเขตข้อมูล e.g. ในระบบทั้ง 2 หรือกลไกในการเชื่อมประสาน เป็นต้น

13 มีนาคม 2555

THE 9 คำศัพท์ Computer Security. 09/03/2555

 THE 9 คำศัพท์ Computer Security.

41. hierarchical data tructure  
คำแปล : คำอธิบาย      โครงสร้างข้อมูลเชิงลำดับขั้น เป็นส่วนตรรกวิทยาซึ่งจะใกล้เคียงกับข้อมูลที่เป็นรากฐานของโครงสร้างที่มีส่วนประกอบหรือเป็นพ่อ แม่มีลูกแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ทีละคน หรือมีมากกว่าส่วนอื่น จะแยกออกเป็นแขนงของเจ้าของในส่วนประกอบเพียงอันหนึ่งอันเดียวของพ่อแม่ เป็นต้น

42. Administrative Security  
คำแปล : คำอธิบาย        การบริหารเรื่องความปลอดภัยข้อกำหนดทางการจัดการและสิ่งควบคุมเสริมต่างๆที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้การป้องกันข้อมูลอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เป็นต้น

43. Security Audit

คำแปล : คำอธิบาย  
       การตรวจหาในระบบคอมพิวเตอร์ถึงปัญหาและความล่อแหลมทางความปลอดภัยต่างๆ เป็นต้น
44. Tiger
คำแปล : คำอธิบาย     
  เครื่องมือ Software ที่ Scan หาจุดอ่อนของระบบในการทำงานได้ เป็นต้น

45. Integrity
คำแปล : คำอธิบาย   
     ในคำศัพท์ของความปลอดภัยข้อมูลและเครือข่าย Integrity เป็นการประกันว่าสารสนเทศสามารถได้รับการถึงหรือปรับปรุงโดยผู้ได้รับอำนาจเท่านั้น มาตรการให้สร้างความมั่นใจ เป็นต้น

01 มีนาคม 2555

THE 8 คำศัพท์ Computer Security. 02/03/2555

THE 8 คำศัพท์ Computer Security.


36. electronic mail
คำแปล : คำอธิบาย
   การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการส่งข้อความทั่วไปโดยระบบคอมพิวเตอร์และ     การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการส่งข้อมูล,ข้อความและสารสนเทศ เป็นการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปอีกคอมพิวเตอร์หนึ่งเหมือนกับการทำงานของไปรษณีย์ เป็นต้น

37. data entry operator
คำแปล : คำอธิบาย
พนักงานป้อนข้อมูลเป็นผู้ที่ถอนข้อมูลจากเทปเพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นหน้าที่เฉพาะบางคนที่สามารถเข้าใจข้อมูลและแทนค่านั้นด้วยภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ เป็นต้น 

 38.batch processing
คำแปล : คำอธิบาย  
      ในไมโครคอมพิวเตอร์ การใช้กลุ่มแฟ้มข้อมูล (batch file) โดยข้อมูลในแต่ละแฟ้มจะถูกนำออกมาใช้ประมวลผล็อย่างต่อเนื่องกัน โดยผู้ใช้ไม่ได้เข้าไปแทรกแซง ; ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หมายถึง การประมวลผลโปรแกรมและข้อมูลที่ผู้ใช้นำเข้าเป็นชุด โดยการให้มันทำงานครั้งละ หนึ่งโปรแกรม หรือครั้งละ 2 - 3 โปรแกรม เป็นต้น


39.aided-manufacturing
คำแปล : คำอธิบาย  
  การใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นอุตสาหกรรม เราสามารถใช้ CAD/CAM ผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักร เครื่องยนต์ เป็นต้น
40. character per second
คำแปล : คำอธิบาย
    ใช้คำย่อว่า cps การวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์ที่ไม่ใช่เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เช่น dotmatrix printer หรือ ink-jet printer เป็นต้น หรือวัดความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูล เช่น ความเร็วของ disk drive เป็นต้น

24 กุมภาพันธ์ 2555

" Link งานกลุ่มของเพื่อนๆ Present review Antivirus&AntiMalware "24/02/2555"



1.  กลุ่มที่1   Vipre Antivirus 
http://​chinhanwon.wordpress.com/​vipre-antivirus/

2. กลุ่มที่2   Review Panda Antivirus 2012
http://​review-panda-antivirus.blog​spot.com/

3. กลุ่มที่3   AVG antivirus
http://​ndhfkljedljfr.blogspot.com/

4. กลุ่มที่4  kaspersky antivirus
http://​sornkak41151.blogspot.com/​2012/02/​anti-virus-anti-virus-kaspe​rsky-anti.html

5. กลุ่มที่5  Bitdefender Antivirus
http://bestantivirus4u.blogspot.com/
6. กลุ่มที่6 Eset nod 32
http://​niyada-esetnod32.blogspot.c​om/2012/02/​eset-nod-32.html

7. กลุ่มที่7  Norton antivirus 2011
http://kabutotan-tontan.blogspot.com/2012/02/4-norton-antivirus-2011.html 

กลุ่มที่ 1 Vipre Antivirus อันดับที่ 9 "TopTen 10 สุดยอด Antivirus แห่งปี 2011" 24/02/2555

อันดับที่ 9 Vipre Antivirus 

      VIPRE Antivirus เป็นโปรแกรม Antivirus อีกโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง                 VIPRE Antivirus ยังสามารถกำจัดไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีเทคโนโลยี antivirusและantispyware engine และโปรแกรม VIPRE Antivirus ยังไม่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหนักซึ่งจะช่วยทำให้ไม่รำคาญกับเครื่องคอมพิวเตอร์ช้า VIPRE Antivirus ยังป้องกันภัยคุกคามจาก Email – Borne ได้อีกด้วย   โปรแกรม VIPRE Antivirus จึงเหมาะแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดอินเทอร์เน็ตและต้องการป้องกันไวรัสและป้องกันมัลแวร์ โปรแกรม VIPRE Antivirus ยังเพิ่มขอบชั้น Firewall ให้เป็น Super Firewall และโปรแกรม VIPRE Antivirus ยังบล็อกลิงค์ที่เป็นอันตรายจากเว็บอีกด้วย โปรแกรม VIPRE Antivirus ยังสนับสนุน Windows XP,Vista,Seven ทั้ง 32 bit และ 64 bit ทั้งนี้โปรแกรม VIPRE Antivirus ยังอัพเดทตัวเองอย่างสม่ำเสมอนับว่าเป็นโปรแกรมสแกนไวรัสอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจอีกโปรแกรมหนึ่งเลยทีเดียว
นอกจากนั้น ได้รับการประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการ ICSA และได้รับรางวัล VB100 เพิ่มความสามารถด้วยระบบ Instant Messaging Protection ป้องกัน IM ที่เป็นอันตราย มีการใช้งานแพร่หลายในระดับองค์กรและธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
เทคโนโลยีของ Vipre
  • Advanced anti-rootkit technology
  • Real-time monitoring and protection
  • Antivirus, anti-phishing email security
  • Remote device scanning
  • Spam blocking
  • Smarter firewall
VIPRE vs. คู่แข่ง









รางวัลและใบรับรองต่างๆ



ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ

ZDNet
“GFI’s claim that VIPRE doesn’t hog system resources and doesn’t slow down a PC isn’t just marketing hyperbole but is actually true.” – Adrian Kingsley-Hughes
How To Geek – 4.5 out of 5 stars
“Unlike other anti-virus programs that can slow your computer down, Vipre is virtually un-noticeable with its Active Protection Technology. This powerful real-time protection technology uses signature matching, database comparison, and heuristic analysis. Even while running a scan Vipre doesn’t bog down the PC as much as other anti-virus utilities, so you can continue your regular computing while a scan takes place.” – HowToGeek Staff
ZDNet
“GFI’s VIPRE – I’ve finally found an antivirus package that delivers the goods.” – Adrian Kingsley-Hughes
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.viprethailand.com
"TopTen 10 สุดยอด Antivirus แห่งปี 2011"



1.

23 กุมภาพันธ์ 2555

THE 7 คำศัพท์ Computer Security. 24/02/2555

THE 7 คำศัพท์ Computer Security.

31.Access
คำอธิบายคำแปล :
    การเข้าถึง : การจัดตั้งการสื่อสารหรือการติดต่อซึ่งอาจเป็นได้ทั้งทาง ตรรกะ (logical) หรือทางกายภาพ (Physical)เป็นต้น

32.Alert
คำอธิบายคำแปล :
    การแจ้งเตือน : ข้อความที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายสถานการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของเครือข่าย การแจ้งเตือนมักจะเกิดมาจากการตรวจสอบ (aidit)
ที่สำคัญ (Critical) เป็นต้น


33.Bomb
คำอธิบายคำแปล :
    มีความหมายโดยทั่วไปเหมือนกับคำว่า crash โดยปกติแล้วเกี่ยวข้องกับการที่ Software หรือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) ล้มเหลว เป็นต้น
    

34.Bug
คำอธิบายคำแปล :
    คุณสมบัติหรือความสามารถใน software  หรือ hardware ที่ไม่เป็นที่ต้องการและไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติที่ทำให้ software  หรือ hardware นั้นทำงานผิดพลาด เป็นต้น


35.CGI Scripts
คำอธิบายคำแปล :
    CGI เป็นวิธีหนึ่งที่ web server ใช้ในการติดต่อและแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่าง server ต่างๆ กับตัวโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น

16 กุมภาพันธ์ 2555

THE 6 คำศัพท์ Computer Security. 17/02/2555

THE 6 คำศัพท์ Computer Security.


26.character per inch
คำอธิบายคำแปล :
มัก ใช้คำย่อว่า cpi เป็นหน่วยการวัดขนาดของตัวอักษรอย่างหนึ่ง หมายถึง
ในความยาว 1 นิ้ว มีตัวอักษรบรรจุลงไปได้กี่ตัว การกำหนดในลักษณะนี้ ก่อให้เกิดลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ ขนาดของป้อยนท์ และความกว้างของตัวอักษร เป็นต้น

27.data processing
คำอธิบายคำแปล :
การประมวลผลข้อมูลเป็นความต้องการที่จะปฏิบัติงานประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ เป็นต้น

28.Automatic teller Machine
คำอธิบายคำแปล :


เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติเป็นเครื่องทีไม่มีคนประจำอยู่ ซึ่งสามารถควบคุมการถอนเงิน การดูยอดบัญชีและทำงานอื่นๆ เกี่ยวกับการจ่ายเงินโดยอัตโนมัติ เป็นต้น

29Payload.
คำอธิบายคำแปล :
คำศัพท์ที่เรียก Action ต่างๆที่พวก malware ใช้จู่โจมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละครั้งที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆติดไวรัสเป็นต้น

30.data entry operator
คำอธิบายคำแปล :
พนักงาน ป้อนข้อมูลเป็นผู้ที่ถอดข้อมูลจากเทปเพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของ คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นหน้าที่เฉพาะบางคนที่สามารถเข้าใจข้อมูลและแทนค่านั้นด้วยภาษาที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ เป็นต้น